You are currently viewing ผ่าตัดบายพาสหัวใจ กับคนไข้เจ้าพ่อท้องถิ่น – ตอน 2

ผ่าตัดบายพาสหัวใจ กับคนไข้เจ้าพ่อท้องถิ่น – ตอน 2

เมื่อนายหัวใหญ่ ต้องผ่าตัดบายพาส หลอดเลือดหัวใจ – ตอน 2

ชีวิตหมอ ชีวิตคนป่วย มีชะตาให้มาบรรจบกัน


หลังจากที่ได้รับปรึกษาว่า มีคนไข้รายหนึ่ง จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ กระผมก็ได้เข้าไปแวะเยี่ยมเยียนท่านนายหัวท่านนี้..

[spacer height=”10px”]

พอแนะนำตัวกันและกัน ถามไถ่อาการว่าเป็นยังไงมายังไง คุยกันอยู่ราวๆไม่ถึงครึ่งชั่วโมง  ท่านก็ให้เรียกท่านว่า “หมอไม่ต้องเรียกผมเป็นทางการ เรียกผมแบบง่ายๆ เรียกผมว่า โกชา” – แน่นอนครับว่า ท่านไม่ได้ชื่อโกชา และผมก็เอาชื่อผู้ป่วยของกระผมมาลงในบทความนี้ไม่ได้

[spacer height=”10px”]

คือ.. คนใต้ เขาจะให้เรียกคนที่พอจะสนิทกันบ้าง ให้ขึ้นด้วยคำนำหน้าว่า “โก” แปลว่า พี่ชาย อะไรประมาณนั้น คือ โกชา แกก็รู้สึกไว้ใจตัวหมอสัญญาอย่างรวดเร็ว แกก็เรียกลูกๆมาทั้งหมด แล้วบอกว่า “นี่..หมอสัญญา ต่อไปนี้เราเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน” …ประโยคนี้ผมยังจำได้แม่น คนไข้ผมอาจจะลืมไปแล้ว แต่ผมยังไม่ลืม ..ตอนนั้น แกพูดออกมาจริงๆ และคิดว่าไว้วางใจให้หมอสัญญาผ่าตัดหัวใจ เพราะแกบอกว่า ครั้งนี้ อาการแน่นหน้าอกมันรุนแรงกว่าทุกทีจริงๆ …ทุกที ถ้าไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ จะไม่ยอมมาโรงพยาบาล

[spacer height=”10px”]

แต่…นายหัวท่านก็ถามต่อไปเหมือนกัน ว่า..แล้วที่นี่ ผ่าตัดหัวใจ เดือนที่แล้ว กี่รายได้..

แน่นอนว่า เขาถามแบบนี้ ก็เพราะคนที่กำเงินเกินครึ่งล้านมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในการผ่าตัดหัวใจ เขาก็อยากจะแน่ใจว่า โรงพยาบาลที่เขากำเงินไปจ่ายนั้น ..มั่นใจได้จริงๆ.. เขาบอกว่า เขาเชื่อหมอ แต่โรงพยาบาลจะเชื่อได้หรือเปล่า.. (ที่จริงคือ เขาเกรงใจผมมากกว่าเลยพูดมาอย่างนั้น ว่าไปแล้ว เขาไม่เชื่อทั้งหมดหรอก ทั้งหมอ ทั้งโรงพยาบาล)

[spacer height=”10px”]

อย่างถ้าสมมุติ เราเป็นคนป่วยเอง กำลังจะกำเงินหลายแสนเข้าโรงพยาบาล ที่การผ่าตัดนั้นเป็นการผ่าตัดอันมีความเสี่ยงอยู่ในตัว ..แน่นอน นอกจากเรื่องเงินแล้ว เราก็ต้องอยากได้ความมั่นใจ ว่าที่นั่น หรือที่นี่ดีจริง เราฝากชีวิตเอาไว้ได้จริงๆ วางใจได้จริง

[spacer height=”10px”]

เรื่องราวของเหตุการณ์ในช่วงเวลานี้ …มันยังอยู่ในใจผมตลอดมา ..คือ.. ผมอยากจะให้เขาเชื่อมั่นในตัวผม เชื่อมั่นในโรงพยาบาลที่ตอนนั้น ผมทำงานอยู่ … แต่บางอย่างมันก็กระอักกระอ่วนที่จะพูดความจริงออกมา

[spacer height=”10px”]

โกชา บอกว่า ก่อนที่ผมจะมาคุยกับเขานั้น เช้าวันนั้น เพื่อนๆเขาโทรหาหลายคน บ้างก็บอกให้ไปรักษาในกรุงเทพ ไปสถาบันที่เชื่อถือได้ เพื่อนโกชา แนะนำ ศิริราช เพราะมีคนรู้จักไปรักษาที่นั่นมาแล้ว ..ซึ่งถ้าโกชา ต้องการไปที่ศิริราช สถาบันที่ผมเป็นลูกหม้ออยู่ตั้งแต่นักศึกษาแพทย์ปีแรก จนจบอบรมเฉพาะทาง …มันก็แน่นอนอยู่แล้ว ว่าผมย่อมยินดีสนับสนุนเต็มที่

[spacer height=”10px”]

แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายนั้น …ประสบการณ์ผมบอกว่า สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง คือ ความไว้เนื่อเชื่อใจ ของคนป่วย ที่มีต่อแพทย์ที่ทำการรักษา ..โดยที่แพทย์ที่ทำการผ่าตัดรักษา จะทำให้เขาเห็นเองว่าเราเป็นคนที่ไว้วางใจได้หรือเปล่า โดยไม่ต้องมาแสแสร้งสร้างภาพ แต่ประการใด

[spacer height=”10px”]

นายหัวท่าน…สุดท้ายเราก็คือมีบูญวาสนา จะได้ทำร่วมกัน… คือ โกชา ท่านก็ตอบตกลง ว่า “สรุปว่า ..ผมเชื่อหมอ.. ว่าแต่หมอจะผ่าเมื่อไหร่”

[spacer height=”10px”]

..โกชา เชื่อผม …เป็นความเชื่อแบบ เชื่อมั่นในตัวผม ไม่ใช่ “หลงเชื่อ” คำพูดของผม ..เรื่องนี้..มันหลอกกันไม่ได้

[spacer height=”10px”]

จากนั้น ผมก็ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการผ่าตัด ..ทีนี้ เนื่องจากมันไม่ได้เป็นการผ่าตัดฉุกเฉินอะไรขนาดนั้น เราจึงพอมีเวลาเตรียมการต่างๆ ที่จำเป็น ทั้งต้องแจ้งต่อผู้บริหารโรงพยาบาลให้รับทราบ แจ้งหมออายุรกรรมหัวใจให้รับทราบ …และจองเลือดเตรียมผ่าตัด ตรวจเลือดตรวจแล็ปอะไรต่างๆนานา เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีสภาวะอะไรที่ต้องรอการแก้ไข ก่อนจะเข้าไปห้องผ่าตัด

[spacer height=”10px”]

[spacer height=”10px”]

ทีมงานผ่าตัด ซึ่งปกติ จะในโรงพยาบาลระดับนี้ จะต้องใช้ศัลยแพทย์หัวใจ สองคนทำการผ่าตัดร่วมกัน คนหนึ่งเป็นศัลยแพทย์หลัก อีกคนเป็นศัลยแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด …ในตอนนั้น ผมจะเชิญหมอรุ่นน้อง มาช่วยผมผ่าตัดหัวใจอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งเขาก็ต้องเดินทางมาจากจังหวัดใกล้เคียงนั่นเอง

[spacer height=”10px”][spacer height=”10px”]

ในช่วงหัวค่ำก่อนจะถึงเช้าวันผ่าตัดในวันถัดไป …ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล โทรเข้ามาหาผม ..ท่าน ผอ. แจ้งว่า หมออายุรกรรมหัวใจ เป็นกังวลมาก กลัวจะเกิดเรื่องใหญ่ ถ้าหากการผ่าตัดทำให้คนป่วยเป็นอะไรไป… เป็นอะไรไป หรือมีอันเป็นไปนั่นแหละ… แพทย์หญิงท่านนี้ท่านกลัว และวิตกมาก เพราะท่านทราบว่า ลูกน้องของนายหัวพกอาวุธปืน เห็นได้ชัดเจน เฝ้าอยู่หน้าห้องสวนหัวใจตลอดเวลา …

(ผมไปถาม องค์รักษ์ประจำตัวคนนี้ตอนหลัง… แกบอกว่า ปืนที่พกพาอยู่นั้น ขึ้นนก เตรียมพร้อมอยู่ตลอด!!)

[spacer height=”10px”]

เรียกว่า คนไข้รายนี้ …จะทำเป็นเล่นไม่ได้เชียว!!!

[spacer height=”10px”]

ถ้ามีอะไรผิดพลาดขึ้นมา หมอมีสิทธิโดนสอยได้หรือเปล่า…ไม่รู้

[spacer height=”10px”]

ท่าน ผอ. ก็เลยบอกผมว่า ให้เชิญศัลยแพทย์อาวุโส จากโรงพยาบาลอื่น มาทำการผ่าตัด จะดีกว่ามั้ย …แต่ผมก็เรียนท่านไปว่า แล้วศัลยแพทย์อาวุโสที่ว่านั้น เขามาผ่า แล้วเกิดคนไข้ เสียชีวิต สามวัน เจ็ดวันหลังการผ่าตัด แปลว่า เขาจะยังอยู่รับผิดชอบให้ตลอดใช่หรือไม่ …หรือว่าเป็นประเภท ผ่าเสร็จแล้ว กลับฐานตัวเองไปเลย …พูดง่ายๆ “ปาดแล้วไป” ไม่รับรู้อะไรหลังจากนั้นเลยหรือเปล่า …แบบนี้ ผมไม่เอาด้วยครับท่าน ผอ. เพราะคนที่ต้องรับความเสี่ยงล้วนๆ ก็ยังเป็นผมอยู่ดี และผมต้องมารับโดยที่ไม่ได้เป็นผู้ที่ทำการผ่าตัดเอง มันก็ไม่เหมาะ..

[spacer height=”10px”]

อีกอย่างคือ การเซทผ่าตัด ได้ดำเนินการไปแล้ว นายหัวก็รับทราบแล้ว นายหัวเตรียมการ เตรียมความพร้อมทุกอย่างแล้ว …ถ้าหากเราเลื่อนกำหนดการผ่าตัด เพราะเราบอกว่า จะให้หมอท่านอื่น อาวุโสกว่า มาทำการผ่าตัด .. อย่างนี้แล้ว เขาจะเชื่อถือโรงพยาบาลอีกเหรอ เพราะตอนแรกก็บอกไปอย่างมั่นใจว่า เราสามารถทำการผ่าตัดหัวใจได้ พร้อมตลอด และกำหนดวันเวลาที่ชัดเจนเอาไว้แล้ว

[spacer height=”10px”]

..คือ เรื่องนี้ มันอาจจะเป็นเพราะความดื้นของหมอสัญญา หรือเปล่าไม่ทราบได้ แต่ทว่า..ในนาทีนั้น ผมคิดว่า เรามีแต่ต้องเดินหน้าอย่างเดียว จะมาโลเลไม่ได้

[spacer height=”10px”]

ตอนแรกที่ผมจะเขียนเรื่องนี้ ก็กะว่า จะเขียนแบบ “เติมแต่งเรื่อง” เข้าไปให้มันอ่านแล้ว ดูดี ..โลกสวย..อะไรประมาณนั้น แต่ชีวิตจริง มันไม่ใช่นิยาย ไม่ต้องโลกสวย ไม่มีพระเอกนางเอก พระเอกวันนี้ อาจกลายร่างเป็นผู้ร้ายในสายตาอีกคนก็ได้

[spacer height=”10px”]

พูดอีกทีคือ… นาทีนั้น ผมแน่ใจว่า หากเกิดอะไรขึ้นมา ผมก็ต้องรับความเสี่ยงคนเดียว หรืออย่างน้อยก็ต้องรับมากที่สุดนั่นแหละ.. แต่ว่า.. แล้วทำไม ผมต้องอยากจะเสี่ยง ผ่าตัดหัวใจรายนี้ แล้วเกิดโอกาสผิดพลาดไม่เป็นไปตามที่คิดอยากให้เป็น ซึ่งความเสี่ยงมันมี ผ่าตัดหัวใจ มันมีโอกาสเสียชีวิต ทั้งทันทีหลังผ่าตัด หรือภายในเจ็ดวันหลังผ่าตัด มันมีได้ทั้งนั้น …

[spacer height=”10px”]

หลายต่อหลายคน อยากทราบว่าความเสี่ยงมันกี่เปอร์เซนต์ แต่เรื่องแบบนี้ ถ้าจะให้กล่าวแบบเฉพาะคนคนนั้นเลย ว่าคนที่เรากำลังจะผ่าคนเดียวคนนั้น จะตายกี่เปอร์เซนต์?… คำตอบคือบอกไม่ได้… หนึ่งคน จะให้พูดเป็นเปอร์เซนต์ มันบอกไม่ได้

[spacer height=”10px”]

แต่ถ้าหากมีคนป่วยโรคหัวใจ ที่ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ 1000 คน …ตามสถิติจะมีคนเสียชีวิตหลังการผ่าตัดกี่ราย… อันนี้ อาจจะบอกได้ ว่าในร้อยคน จะมีคนที่รอดตาย หายดี แข็งแรงดี ประมาณ 950 – 995 คน แล้วแต่ว่า ความเชี่ยวชาญของทีมผ่าตัดทั้งทีม ว่ามีขนาดไหน (มีหมอผ่าตัดบางท่าน ผ่าตัดตายหนึ่งในสิบ…ถือว่าสูงมาก) นอกจากนั้นก็ต้องมาดูเรื่องทีมงานแพทย์พยาบาลที่รองรับหลังการผ่าตัด ความพร้อมเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือการดูแลหัวใจ ทั้งในห้องผ่าตัด และที่หอผู้ป่วยหลังผ่าตัด… คนตายหลังผ่าตัด มันไม่อาจจะมาชี้ขาดที่ปัจจัยศัลยแพทย์ผ่าตัดคนเดียว … พูดอีกอย่างคือ หมอคนเดียวกัน ผ่าตัดคนละโรงพยาบาล ผลการผ่าตัด อัตราการรอดชีวิต แตกต่างกันได้มาก

[spacer height=”10px”]

แต่เวลาที่คนป่วย ตายหลังการผ่าตัด …คนที่โดนพุ่งเป้ามากที่สุด และเกือบทั้งหมด ก็คือ ศัลย์แพทย์ผ่าตัดนั่นเอง

[spacer height=”10px”]

แล้วทำไม..ผมถึงอยากเสี่ยงล่ะ..

[spacer height=”10px”]

คำตอบง่ายๆ คือ …ผมเชื่อเสมอว่านี่คือ ชะตาชีวิตของผม ผมเชื่อว่าโชคต้องเข้าข้างผม …และผมก็รักในงานที่ผมทำนั่นเอง… เราหวังดีต่อคนไข้ เราทำงานของเราให้เต็มความสามารถ ทำผ่าตัดด้วยความละเอียดรอบคอบ เชื่อมั่นในความตั้งใจดีของตัวเอง.. อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด… ไม่งั้น คงเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น

[spacer height=”10px”]

…สุดท้าย ท่าน ผอ.รพ. ท่านก็เข้าใจ และให้เดินหน้าต่อไป ทำการผ่าตัดตามกำหนดที่ให้คำมั่นกับนายหัวไว้… แม้ว่า ผอ. จะใจตุ้มๆต่อมๆก็ตาม เพราะคนไข้รายนี้ ไม่เหมือนคนอื่น.. ถ้ามีเรื่องขึ้นมา …อาจจะโกลาหลได้

[spacer height=”10px”]

…การผ่าตัด..ผ่านไปด้วยดี… เราใช้เส้นเลือดแดงที่ผนังทรวงอกหนึ่งเส้นในการต่อบายพาสไปยังหลอดเลือดหัวใจเส้นที่สำคัญที่สุด และใช้หลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ที่ขา ..มาต่อบายพาสหลอดเลือดหัวใจเส้นอื่นๆที่เหลือ ..รวมทั้งหมด บายพาสไปครบทุกจุด ก็ต่อบายพาสไปสี่เส้น

[spacer height=”10px”]

หลังการผ่าตัดในวันแรก ทุกอย่างเรียบร้อยดี… ไร้ปัญหา…ไม่มีอะไรสะดุด

[spacer height=”10px”]

ทุกฝ่ายโล่งใจ ..คิดว่า โอเคแล้วๆ

[spacer height=”10px”]

แต่สำหรับผม… ไม่เคยมีคำว่าโล่งใจ ถ้าคนป่วยที่ผ่าตัดไป ยังไม่พ้นระยะ 30 วัน หลังการผ่าตัด จะบอกว่าโล่งใจไม่ได้… ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ..

[spacer height=”10px”]

ตั้งแต่นั้นมา…หมอสัญญา เลยเป็นหมอประจำครอบครัว ของนายหัว เจ้าของโรงไม้ท่านนี้ ไปโดยปริยาย ..ลูกชายเป็นไข้เหมือนกับไข้เลือดออก ยังต้องมานอนโรงพยาบาลสุดหรูแห่งนี้ และร้องขอให้ผมเป็นเจ้าของไข้ ประสานมาตั้งแต่ล้อยังไม่หมุนออกจากบ้านเลย

Leave a Reply