You are currently viewing ความดันสูงกับการทานเค็ม

ความดันสูงกับการทานเค็ม

น้ำทะเลหนุนสูง เหตุเพราะปริมาณน้ำในมหาสมุทรเพิ่ม.. ฉันใด

ความดันเลือดสูง เหตุเพราะปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนเพิ่ม.. ฉันนั้น

 

ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย..มีไว้เพื่ออะไร? แน่นอนครับ คำตอบคือ มีเพื่อส่งกระแสเลือดไปเลี้ยงให้ถึงทุกเซลล์ของร่างกาย บางอวัยวะต้องการเลือดมาก ก็ต้องมีระบบควบคุมแรงดันเลือด ไม่ให้สูงเกินไป ไม่ให้ต่ำเกินไป ซึ่งการทำให้แรงดันเลือดอยู่ในระดับพอดีๆ ที่เลือดจะไหลไปในหลอดเลือดแดงนั้น จำเป็นต้องมีกลไกควบคุมความดันเลือด… ซึ่งสำหรับมนุษย์เรานั้น กลไกการรักษาระดับแรงดันเลือดนี้ เรียกว่าซับซ้อนมากๆ เหมือนเฟืองจักรหลายตัวประกอบกันขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ระบบไต และระบบต่างๆอีกมากมาย

 

ทั้งนี้ อยากให้เราเข้าใจกันก่อนว่า บางครั้ง คนเราอาจจะมีความดันเลือดพุ่งสูงเป็นครั้งคราว แต่มันไม่ได้แปลว่าเราเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดแดง โดยเฉลี่ยคงอยู่ในระดับสูงอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้ง ถ้าหากเราไปวัดความดันแล้ว ความดันที่วัดที่โรงพยาบาลหรือคลินิก วัดได้ปกติ ก็ไม่ได้แปลว่า เราจะไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง..เสียด้วย… อ้าวว… งงมั้ย..

ความดันเลือดคนเรา สามารถเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงได้ ดังเช่นระดับน้ำทะเล ซึ่งมีขึ้นมีลง ตามสภาพภูมิอากาศเป็นครั้งคราว เช่นว่า ถ้าหากมีพายุฝนกระหน่ำในมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลก็จะขึ้นสูงได้ชั่วขณะ เหมือนคนอารมณ์โกรธ ที่ความดันจะขึ้นสูงได้ชั่วครั้งชั่วคราวเช่นกัน ซึ่งพอพายุสลายตัวไป อารมณ์โกรธหายไป ระดับน้ำทะเล หรือความดันเลือดของเราก็จะกลับมาสู่ระดับปกติ

เวลาวัดระดับน้ำทะเล เขาถึงจะต้องใช้คำว่า “ระดับน้ำทะเลปานกลาง”

ความดันเลือดคนเราก็เช่นกัน…ความดันเลือด จะเปลี่ยนแปลงอยู่ในกรอบแคบๆ ระดับหนึ่งตลอดทั้งวัน อาจจะเป็นเช้าเย็นไม่เท่ากัน ตอนหลับ กับตอนตื่น ก็ไม่เท่ากัน..ความดันเลือดที่เราวัดได้แต่ละครั้งก็ย่อมไม่เท่ากัน และแน่นอน ถ้าหากเราอยากจะทราบสภาพของระดับความดันในระบบไหลเวียนเลือดให้ถ่องแท้แล้ว เราก็ควรจะวัดความดันเลือด บ่อยครั้งขึ้น ใน 24 ชั่วโมง… พูดอีกอย่างก็คือ การวัดความดันเลือด เป็นครั้งคราว ที่โรงพยาบาล ตามที่หมอนัดนั้น ไม่เพียงพออย่างแน่นอน… หมอนัดคนไข้มารับยาความดันทุกสามเดือน วัดความดันครั้งเดียว มันย่อมไม่ได้บอกอะไรเลย เกี่ยวกับระดับความดันที่แท้จริงที่คนคนนั้นมีอยู่ (อ่านต่อที่นี่)

แต่ถ้าหาก..สมมุติว่า มีภาวะอะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เกิดพายุฝนกระหน่ำอยู่ตลอด เป็นประจำ และมีการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลกเข้าสู่มหาสมุทร ก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลคงระดับสูงไปตลอดเวลา หรืออย่างน้อยก็จะลดระดับลงมาปกติแต่นานๆครั้งมาก…แบบนี้ เราเรียกว่า ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบโดยรวม

โรคความดันเลือดสูง ก็เช่นกัน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบต่างๆของร่างกายเรา ที่ทำให้แรงดันในหลอดเลือดแดง คงอยู่ระดับสูง เกือบตลอดเวลา ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงความดันสูงขึ้นเป็นครั้งคราว ตามเหตุกระตุ้น (เช่น นอนไม่พอ อารมณ์โกรธ ..เราอาจจะเรียกว่า “พายุเข้า” เช่นกันแหละครับ) แต่เป็นการเพิ่มความดันเลือด ที่เหมือนเซ็ทระดับใหม่ ที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งโดยมากแล้ว มักจะต้องมีสาเหตุต่างๆ หลายๆประการมาประกอบกัน มีน้อยที่ความดันเลือดจะสูงเรื้อรังโดยเกิดจากปัจจัยโดดๆ ประการเดียว แล้วจะสามารถทำให้เกิดการรีเซทระบบรักษาความดันเลือดในร่างกายได้

มาถึงตอนนี้ เราคงเข้าใจกันแล้วว่า การที่จะกล่าวว่าความดันมากกว่าปกตินั้น เป็นโรคความดันโลหิตสูง มันจะต้องเป็นกรณีที่ระดับความดันเลือดค่าเฉลี่ยพื้นฐานสูงกว่าระดับเหมาะสม ซึ่งข้อมูลปัจจุบัน จะมีเส้นแบ่งที่ระดับความดัน 140/80 มิลลิเมตรปรอท (แม้ว่าระดับความดันที่เหมาะสมที่สุดคือ 115/75 มิลลิเมตรปรอท)

เหตุที่ว่า โรคความดันเลือดสูงมักจะเกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการมาประกอบกันนั้น ก็เพราะว่าระบบร่างกายของคนเรานั้น หลังจากผ่านขั้นตอนวิวัฒนาการมายาวนาน ทำให้มีการติดตั้งระบบควบคุมแรงดันเลือด ไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป …ผ่านระบบเซนเซอรและระบบปรับแรงดัน ซึ่งธรรมชาติออกแบบมาให้มีระบบสำรองที่ยืดหยุ่น เป็นแบคอัพซ้อนกันหลายชั้น มีเซนเซอรรับรู้ระดับแรงดันเลือดหลายจุดในระบบไหลเวียนเลือด และมีระบบปรับแรงดัน ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีความเหลื่อมกัน เผื่อว่าระบบหนึ่งเสียหายไป ยังมีระบบที่เหลือมารองรับ ทำให้ระดับความดันเลือด ไม่แกว่งตัวมากแบบหวือหวา แต่จะรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในช่วงเหมาะสม

ดังนั้น การที่ระดับความดันเลือด ถูกควบคุมโดยระบบภายในร่างกายเราหลายภาคส่วนนั่นเอง ถ้าหากความดันเลือดจะสูงขึ้นแบบกึ่งถาวร ก็เท่ากับระบบหลายๆภาคส่วนในร่างกายเรานั้น ต้องเกิดการ “เปลี่ยน” สมดุลทั้งระบบ นั่นเอง

เราลองมานึกเปรียบเทียบความดันเลือดสูง กับระดับน้ำทะเลของมหาสมุทรบนโลกเรา ..แน่นอนว่า ระดับน้ำในมหาสมุทรนั้น โดยเฉลี่ยในรอบร้อยปี จะค่อนข้างคงที่ …แต่จากประวัติศาสตร์ในรอบหลายแสนปีก็จะพบว่า มีบางครั้งที่ระดับน้ำทะเล เพิ่มสูงมาก…จนชายทะเลของประเทศไทย ขึ้นมาอยู่ถึงเขตจังหวัดในภาคกลางตอนบน แต่ก็มีบางครั้งที่ระดับน้ำทะเล แห้งเหือดลง จนกระทั่งแหลมมลายู เชื่อมต่อเป็นแผ่นดินเดียวกับเกาะบอร์เนียว

อะไร..ที่ทำให้เมื่อราวๆหนึ่งพันปีก่อน ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงจนมาถึงแถบจังหวัดอ่างทองได้…ก็ต้องไม่ใช่อะไร นอกจากมวลน้ำในมหาสมุทรเพิ่มปริมาณมากขึ้นนั่นเอง

โรคความดันเลือดสูงก็เช่นกัน …ความดันเลือดสูง ไม่ใช่แค่วัดความดันเลือดแล้วสูงกว่าระดับ 140/80 มิลลิเมตรปรอท แค่ครั้งสองครั้ง และจะตีความเลยว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง…หากแต่ โรคความดันเลือดสูง คือภาวะที่ระดับความดันเลือด ค่อนข้างคงระดับสูงตลอด จะลดต่ำลงมาบ้าง ก็ไม่ลงมาเกิน “แนวต้าน”

ซึ่งการที่ระบบไหลเวียนเลือดมีแรงดันในระบบสูงกว่าระดับที่ระบบท่อหลอดเลือดจะทนทานไม่สึกกร่อนนั้น สาเหตุหลักประการหนึ่งคือ ปริมาณ “น้ำ”ในระบบหลอดเลือดมันเพิ่มขึ้นมากเกินไป

และการที่ระบบไหลเวียนเลือด มีปริมาณน้ำมากเกินไป จนอัดแน่นในระบบหลอดเลือดนั้น ก็เพราะสาเหตุสำคัญคือ ….เราทานเกลือมากเกินไป

 

นั่นคือ…การที่ร่างกายเรามีเกลือโซเดียมมากเกินไปนั่นเอง ที่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือด เกิดภาวะ “ท่วม” เหมือนกับที่น้ำทะเลหนุนสูงเข้ามาในแผ่นดิน เพราะปริมาณน้ำทะเลบนมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็น

ดังนี้แล้ว… ตรรกะของเราออกมาทำนองว่า ถ้าหากจะลดความดันเลือดลง วิธีการง่ายๆที่สุดก็คือ ลดปริมาณเกลือโซเดียมที่เรากินเข้าไปแต่ละวันลง …การทานอาหารที่ปรุงรสจัด จะต้องใส่เกลือปรุงอาหาร (หรือที่เรียกว่าเกลือแกง) มันจะทำให้โซเดียมสะสมในร่างกายมากเกินไป และจะทำให้ปริมาณ “น้ำ” ในระบบหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น …แรงดันในท่อหลอดเลือดจึงต้องคงระดับสูงกว่าคนที่ทานจืดๆอย่างช่วยไม่ได้

แต่ทว่า…ขอบอกกันก่อนครับ ว่าเรื่องนี้ ไปๆมาๆ กลับไม่ตรงไปตรงมาขนาดนั้น กล่าวคือ คนที่เป็นความดันโลหิตสูง ที่จำกัดการทานเกลือโซเดียมเข้าไปอย่างเข้มงวดจริงๆนั้น ก็มีบางการศึกษาออกมาว่า ความดันโลหิตจริงๆแล้วก็ไม่ได้ต่ำลงมาก แต่แน่นอนว่า ถ้าหากยังทานอาหารที่โดยรวมแล้วมีปริมาณเกลือโซเดียมสูงกว่าวันละ 2 กรัม นั้น.. ความดันโลหิตสูงก็น่าจะควบคุมได้ยากอย่างแน่นอน และ guidelines ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจต่างๆที่ออกมา ก็แนะนำให้จำกัดปริมาณเกลือโซเดียม ไม่ให้เกินวันละ 2 กรัม (บางที เอาระดับ 1.5 กรัมต่อวันด้วยซ้ำครับ)

 

ตำราแพทย์ฉบับแรก ที่กล่าวถึง สาเหตุของความดันเลือดสูง ว่ามาจากการทานอาหารที่มีเกลือมาก คือ ตำราแพทย์จีนโบราณ เมื่อ 4,600 ปีก่อน ซึ่งรจนาโดยจักรพรรดิเหลือง หรือ ฮว๋างตี้ 黄帝

 

ซึ่งกล่าวว่า “หัวใจออกแรงต่อเลือด ก่อให้เกิดชีพจร ถ้าหากทานอาหารเค็มมาก ชีพจรจะกระด้างขึ้น”

Reference: The Yellow Emperor’s Classic of Medicine (the Neijing Suwen) – Neijing

แรงดันเลือดสูงเป็นครั้งคราว กับ โรคความดันสูง

แรงดันเลือด เป็นแค่แรงดันในขณะนั้น …แต่โรคความดันสูง หมายถึง แรงดันเลือดที่กำลังก่อปัญหากับระบบไหลเวียนเลือด

ภาวะความดันเลือดพุ่งสูงเป็นครั้งคราว ไม่เหมือนกับ โรคความดันเลือดสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดแดง โดยเฉลี่ยคงอยู่ในระดับสูงอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน ตลอด 24 ชั่วโมง

ความดันเลือดคนเรา สามารถเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลงได้ ดังเช่นระดับน้ำทะเล ซึ่งมีขึ้นมีลง ตามสภาพภูมิอากาศเป็นครั้งคราว เช่นว่า ถ้าหากมีพายุฝนกระหน่ำในมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลก็จะขึ้นสูงได้ชั่วขณะ เหมือนคนอารมณ์โกรธ ที่ความดันจะขึ้นสูงได้ชั่วครั้งชั่วคราวเช่นกัน ซึ่งพอพายุสลายตัวไป อารมณ์โกรธหายไป ระดับน้ำทะเล หรือความดันเลือดของเราก็จะกลับมาสู่ระดับปกติ

เวลาวัดระดับน้ำทะเล เขาถึงจะต้องใช้คำว่า “ระดับน้ำทะเลปานกลาง”

ความดันเลือดคนเราก็เช่นกัน…ความดันเลือด จะเปลี่ยนแปลงอยู่ในกรอบแคบๆ ระดับหนึ่งตลอดทั้งวัน อาจจะเป็นเช้าเย็นไม่เท่ากัน ตอนหลับ กับตอนตื่น ก็ไม่เท่ากัน..ความดันเลือดที่เราวัดได้แต่ละครั้งก็ย่อมไม่เท่ากัน และแน่นอน ถ้าหากเราอยากจะทราบสภาพของระดับความดันในระบบไหลเวียนเลือดให้ถ่องแท้แล้ว เราก็ควรจะวัดความดันเลือด บ่อยครั้งขึ้น ใน 24 ชั่วโมง… พูดอีกอย่างก็คือ การวัดความดันเลือด เป็นครั้งคราว ที่โรงพยาบาล ตามที่หมอนัดนั้น ไม่เพียงพออย่างแน่นอน… หมอนัดคนไข้มารับยาความดันทุกสามเดือน วัดความดันครั้งเดียว มันย่อมไม่ได้บอกอะไรเลย เกี่ยวกับระดับความดันที่แท้จริงที่คนคนนั้นมีอยู่ (อ่านต่อที่นี่)

แต่ถ้าหาก..สมมุติว่า มีภาวะอะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เกิดพายุฝนกระหน่ำอยู่ตลอด เป็นประจำ และมีการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลกเข้าสู่มหาสมุทร ก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลคงระดับสูงไปตลอดเวลา หรืออย่างน้อยก็จะลดระดับลงมาปกติแต่นานๆครั้งมาก…แบบนี้ เราเรียกว่า ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบโดยรวม

โรคความดันเลือดสูง ก็เช่นกัน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบต่างๆของร่างกายเรา ที่ทำให้แรงดันในหลอดเลือดแดง คงอยู่ระดับสูง เกือบตลอดเวลา ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงความดันสูงขึ้นเป็นครั้งคราว ตามเหตุกระตุ้น (เช่น นอนไม่พอ อารมณ์โกรธ ..เราอาจจะเรียกว่า “พายุเข้า” เช่นกันแหละครับ) แต่เป็นการเพิ่มความดันเลือด ที่เหมือนเซ็ทระดับใหม่ ที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งโดยมากแล้ว มักจะต้องมีสาเหตุต่างๆ หลายๆประการมาประกอบกัน มีน้อยที่ความดันเลือดจะสูงเรื้อรังโดยเกิดจากปัจจัยโดดๆ ประการเดียว แล้วจะสามารถทำให้เกิดการรีเซทระบบรักษาความดันเลือดในร่างกายได้

มาถึงตอนนี้ เราคงเข้าใจกันแล้วว่า การที่จะกล่าวว่าความดันมากกว่าปกตินั้น เป็นโรคความดันโลหิตสูง มันจะต้องเป็นกรณีที่ระดับความดันเลือดค่าเฉลี่ยพื้นฐานสูงกว่าระดับเหมาะสม ซึ่งข้อมูลปัจจุบัน จะมีเส้นแบ่งที่ระดับความดัน 140/80 มิลลิเมตรปรอท (แม้ว่าระดับความดันที่เหมาะสมที่สุดคือ 115/75 มิลลิเมตรปรอท)

เหตุที่ว่า โรคความดันเลือดสูงมักจะเกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการมาประกอบกันนั้น ก็เพราะว่าระบบร่างกายของคนเรานั้น หลังจากผ่านขั้นตอนวิวัฒนาการมายาวนาน ทำให้มีการติดตั้งระบบควบคุมแรงดันเลือด ไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป …ผ่านระบบเซนเซอรและระบบปรับแรงดัน ซึ่งธรรมชาติออกแบบมาให้มีระบบสำรองที่ยืดหยุ่น เป็นแบคอัพซ้อนกันหลายชั้น มีเซนเซอรรับรู้ระดับแรงดันเลือดหลายจุดในระบบไหลเวียนเลือด และมีระบบปรับแรงดัน ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีความเหลื่อมกัน เผื่อว่าระบบหนึ่งเสียหายไป ยังมีระบบที่เหลือมารองรับ ทำให้ระดับความดันเลือด ไม่แกว่งตัวมากแบบหวือหวา แต่จะรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในช่วงเหมาะสม

ดังนั้น การที่ระดับความดันเลือด ถูกควบคุมโดยระบบภายในร่างกายเราหลายภาคส่วนนั่นเอง ถ้าหากความดันเลือดจะสูงขึ้นแบบกึ่งถาวร ก็เท่ากับระบบหลายๆภาคส่วนในร่างกายเรานั้น ต้องเกิดการ “เปลี่ยน” สมดุลทั้งระบบ นั่นเอง

เราลองมานึกเปรียบเทียบความดันเลือดสูง กับระดับน้ำทะเลของมหาสมุทรบนโลกเรา ..แน่นอนว่า ระดับน้ำในมหาสมุทรนั้น โดยเฉลี่ยในรอบร้อยปี จะค่อนข้างคงที่ …แต่จากประวัติศาสตร์ในรอบหลายแสนปีก็จะพบว่า มีบางครั้งที่ระดับน้ำทะเล เพิ่มสูงมาก…จนชายทะเลของประเทศไทย ขึ้นมาอยู่ถึงเขตจังหวัดในภาคกลางตอนบน แต่ก็มีบางครั้งที่ระดับน้ำทะเล แห้งเหือดลง จนกระทั่งแหลมมลายู เชื่อมต่อเป็นแผ่นดินเดียวกับเกาะบอร์เนียว

อะไร..ที่ทำให้เมื่อราวๆหนึ่งพันปีก่อน ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงจนมาถึงแถบจังหวัดอ่างทองได้…ก็ต้องไม่ใช่อะไร นอกจากมวลน้ำในมหาสมุทรเพิ่มปริมาณมากขึ้นนั่นเอง

โรคความดันเลือดสูงก็เช่นกัน …ความดันเลือดสูง ไม่ใช่แค่วัดความดันเลือดแล้วสูงกว่าระดับ 140/80 มิลลิเมตรปรอท (ตัวเลขนี้มาจากไหน..อ่านได้ที่นี่) แค่ครั้งสองครั้ง และจะตีความเลยว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง…หากแต่ โรคความดันเลือดสูง คือภาวะที่ระดับความดันเลือด ค่อนข้างคงระดับสูงตลอด จะลดต่ำลงมาบ้าง ก็ไม่ลงมาเกิน “แนวต้าน”

ซึ่งการที่ระบบไหลเวียนเลือดมีแรงดันในระบบสูงกว่าระดับที่ระบบท่อหลอดเลือดจะทนทานไม่สึกกร่อนนั้น สาเหตุหลักประการหนึ่งคือ ปริมาณ “น้ำ”ในระบบหลอดเลือดมันเพิ่มชึ้นมากเกินไป

ซึ่งการที่ระบบไหลเวียนเลือด มีปริมาณน้ำมากเกินไป จนอัดแน่นในระบบหลอดเลือดนั้น ก็เพราะสาเหตุสำคัญคือ ….เราทานเกลือมากเกินไป

เรามีเกลือโซเดียมในร่างกายมากเกินไปนั่นเอง ที่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือด เกิดภาวะ “ท่วม” เหมือนกับที่น้ำทะเลหนุนสูงเข้ามาในแผ่นดิน เพราะปริมาณน้ำทะเลบนมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็น

ถ้าหากจะลดความดันเลือดลง วิธีการง่ายๆที่สุดก็คือ ลดปริมาณเกลือโซเดียมที่เรากินเข้าไปแต่ละวันลง …การทานอาหารที่ปรุงรสจัด จะต้องใส่เกลือปรุงอาหาร (หรือที่เรียกว่าเกลือแกง) มันจะทำให้โซเดียมสะสมในร่างกายมากเกินไป และจะทำให้ปริมาณ “น้ำ” ในระบบหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น …แรงดันในท่อหลอดเลือดจึงต้องคงระดับสูงกว่าคนที่ทานจืดๆอย่างช่วยไม่ได้

ตำราแพทย์ฉบับแรก ที่กล่าวถึง สาเหตุของความดันเลือดสูง ว่ามาจากการทานอาหารที่มีเกลือมาก คือ ตำราแพทย์จีนโบราณ เมื่อ 4,600 ปีก่อน ซึ่งรจนาโดยจักรพรรดิเหลือง หรือ ฮว๋างตี้ 黄帝

 

ซึ่งกล่าวว่า “หัวใจออกแรงต่อเลือด ก่อให้เกิดชีพจร ถ้าหากทานอาหารเค็มมาก ชีพจรจะกระด้างขึ้น”

Leave a Reply