รุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

การสังเกตการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นขั้นตอนแรกของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ มาแต่โบราณกาล กล่าวคือ เราจะค้นพบ "ความจริง" ของธรรมชาติ ก็ต่อเมื่อ เรามีการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้น เราก็มาทำการวิเคราะห์ แยกแยะว่าข้อสังเกตที่เราได้มานั้น ทำให้เราได้ข้อสรุปเป็นอะไรแต่ทว่า การสังเกตการณ์ และการเก็บข้อมูลของมนุษย์เรานั้น มีข้อจำกัดในตัวอยู่ไม่มากก็น้อย การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี ต้องมีคุณลักษณะเหมือนกับนักสืบมือฉมัง กล่าวคือ ใส่ใจในรายละเอียด มีความรอบคอบถี่ถ้วน แต่กระนั้นก็ตาม แม้ว่าเราจะเก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติได้ถ้วนถี่มากแล้วก็ตาม แต่เราก็จะพบว่า การวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยสติปัญญาของมนุษย์เรา จะมีข้อจำกัดในตัวเองไม่น้อยเช่นกัน ในอดีต...ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณมาจนถึงยุคก่อนเรอนาซองส์ หรือเมื่อราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้คนในสมัยนั้น…

Continue Readingรุ่งอรุณแห่งการรักษาความดันโลหิตสูง

ประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2

ประวัติศาสตร์การค้นพบของมนุษยชาติ.. มักจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ "เส้นตรง" หากแต่จะมีความยอกย้อน ขัดแย้งกันในตัวเอง ..สิ่งที่ดูเหมือนปลอดภัย กลับเป็นสิ่งที่อันตราย ..และสิ่งที่เห็นชัดๆในเวลาต่อมาว่าเป็นมหันตภัย กลับเคยรับรู้ปรากฏในรูปของสิ่งที่เป็นคุณอนันต์ ... สิ่งที่เคยยอมรับกันมานานว่าใช่ ว่าเป็นสัจจะนิรันดร์ กลับถูกยอมรับหลังกาลเวลาผ่านไป ว่าเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ส่วนสิ่งที่ดูไม่น่าเชื่อ คลับคล้ายเหมือนนิทานหลอกเด็ก กลับต้องยอมรับกลายเป็นกฏพื้นฐานของสรรพสิ่ง ดังนั้น...แล้วอะไรเล่าคือ สิ่งที่จะบอกว่า ข้อสมมุติฐานประการไหนจริง ประการไหนเท็จ อย่างไหนเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด อย่างไหนคือเรื่องที่หลงงมงายมานาน... แม้คำตอบต่อคำถามนี้ เห็นชัดเจนอยู่ในตัว... ว่าสิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่าของแท้หรือเปล่า ก็คือ หลักฐานจากการทดลอง ผลปรากฏที่พิสูจน์ได้จริง จากการทดลอง…

Continue Readingประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 2

ประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 1

ประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ เกี่ยวกับเรื่องความดันโลหิตสูง ถ้าจะนับย้อนหลังไปจริงๆ ก็ต้องเริ่มที่ยุคต้นประวัติศาสตร์ของชาติจีนเลยทีเดียว กล่าวคือ บันทึกที่เกี่ยวข้องกับ "ความดันโลหิตสูง" มีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเหลือง (黄帝 - ฮว๋าง ตี้) เมื่อราว 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 4,600 ปีมาแล้ว หนังสือที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดีคือ  黄帝内经 (ฮว๋าง ตี้ เน่ย จิง หรือที่ตำราฝรั่งเอาไปเรียกว่า Yellow Emperor's Classic of Internal…

Continue Readingประวัติศาสตร์ของ “ความดันโลหิต” ตอน 1

ความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิต...สำคัญอย่างไร ผมเชื่อว่า เราเกือบทุกคน คงคุ้นเคยกับสิ่งที่เรียกว่า อุปกรณ์วัดความดันเลือด...ซึ่งลักษณะของอุปกรณ์วัดความดันที่ว่านี้ มีตั้งแต่รุ่นมาตรฐานดั้งเดิม (ที่เป็นแถบผ้าพันรอบแขนและมีสายยางสีดำๆ ต่อออกมาจากแถบผ้า ไปต่อกับแท่งแก้วที่บรรจุแกนปรอท มีลูกยางเอาไว้ปั้มลมอัดเข้าไปในแถบผ้า) ไปจนถึงเครื่องวัดความดันเลือดสมัยใหม่ ที่ไม่ต้องมาคอยบีบลูกยาง แล้วต้องมาจดจ้องดูระดับความสูงของปรอทที่ลดลงๆ ช้าๆ หลังจากคลายลูกยาง ..จากนั้น เมื่อสามารถระบุตัวเลขความดันเลือดได้ว่ามากน้อยเท่าไหร่ เราก็สามารถบอกได้ว่า ความดันเลือดในขณะนั้น สูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือเป็นปกติดี ...แต่ทว่า...เราเคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมเราต้องมานั่งวัดความดันเลือดกันด้วย มันจะจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ...ไอ้แค่ตัวเลขความดันเลือด เรื่องรายละเอียดแค่การตรวจความดันเลือด แล้วระบุได้ว่าเมื่อไหร่จะเข้าเกณฑ์ของโรคความดันเลือดสูง สามารถหาอ่านได้จาก ที่นี่…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – อารัมภบท

ความดันโลหิตสูง – ตอน 2

ความดันโลหิตสูง ทำไม ...ความดันเลือดมันสำคัญกันนักหนา ตอน 2 เมื่อพูดถึงกระแสเลือด เราก็ต้องนึกถึงแรงที่ทำให้น้ำเลือดสามารถเคลื่อนที่ไปในหลอดเลือดได้ แต่หากจะเปรียบเทียบให้พอมองภาพออก เรามาเริ่มจากการจินตนาการถึง สายธารแห่งหนึ่ง ในป่าดิบชื้น ซึ่งต้นธารก็คือน้ำตกแห่งหนึ่ง ...เราคงพอจะนึกออกว่า ลำธารสายนี้ น้ำในลำธารจะต้องไหลเป็นกระแสอย่างแน่นอน ส่วนจะไหลเชี่ยวแรงแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่า “แรงกระทำ” ต่อสายน้ำ มันแรงแค่ไหน ถ้าหาก..น้ำตก ที่เป็นต้นธารแห่งสายน้ำนั้นๆ เป็นน้ำตกที่มีความสูงใหญ่ และทางน้ำ ก็ไหลลงมาเป็นธารแคบๆ...ดังนี้ คงพอนึกออกว่า กระแสน้ำน่าจะเชี่ยวกราก แม้แต่ก้อนหินใหญ่อาจจะล่องลอยตามกระแสน้ำได้ แต่ถ้าหาก..น้ำตก ต้นธารนั้นๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก…

Continue Readingความดันโลหิตสูง – ตอน 2
Read more about the article กลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต
3D render of a female medical figure with kidneys highlighted

กลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต

การทำหน้าที่ของ..ไต อวัยวะนี้ ใช่เพียงแค่กรองของเสียออกจากกระแสเลือดเท่านั้น ประเด็นนี้ ต้องทำความเข้าใจกันนิดหน่อยครับ ...ว่าตัวเลขความดันเลือดที่วัดได้ กับโรคความดันสูงนั้น ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอไป วัดความดันเลือดได้เท่าไหร่ ก็คล้ายๆกับการบอกว่า รอบเครื่องยนต์ของรถที่เราขับนั้น มันเร่งขึ้นไปกี่พันรอบต่อนาที บางครั้ง เราเร่งเครื่อง เหยียบคันเร่งเพื่อแซงคันข้างหน้า รอบเครื่องก็ย่อมสูงกว่าขับแบบเรื่อยๆ พอเราผ่อนคันเร่งลงมา รอบเครื่องยนต์ ก็กลับมาระดับ “ปกติ” ..ทีนี้ คำว่าระดับเครื่องยนต์ที่เดินปกติ มันจะต้องกี่รอบนั้น มันก็ขึ้นกับว่า คนขับรถนั้น ปกติขับที่ความเร็วเท่าไหร่ (และอาจจะมีปัจจัยอื่นอีก แต่เราจะไม่กล่าวถึงในที่นี้) เช่น สมมุติว่า…

Continue Readingกลไกสาเหตุของความดันโลหิตสูง – ไต

ความดันสูงกับการทานเค็ม

น้ำทะเลหนุนสูง เหตุเพราะปริมาณน้ำในมหาสมุทรเพิ่ม.. ฉันใด ความดันเลือดสูง เหตุเพราะปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนเพิ่ม.. ฉันนั้น   ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย..มีไว้เพื่ออะไร? แน่นอนครับ คำตอบคือ มีเพื่อส่งกระแสเลือดไปเลี้ยงให้ถึงทุกเซลล์ของร่างกาย บางอวัยวะต้องการเลือดมาก ก็ต้องมีระบบควบคุมแรงดันเลือด ไม่ให้สูงเกินไป ไม่ให้ต่ำเกินไป ซึ่งการทำให้แรงดันเลือดอยู่ในระดับพอดีๆ ที่เลือดจะไหลไปในหลอดเลือดแดงนั้น จำเป็นต้องมีกลไกควบคุมความดันเลือด... ซึ่งสำหรับมนุษย์เรานั้น กลไกการรักษาระดับแรงดันเลือดนี้ เรียกว่าซับซ้อนมากๆ เหมือนเฟืองจักรหลายตัวประกอบกันขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ระบบไต และระบบต่างๆอีกมากมาย   ทั้งนี้ อยากให้เราเข้าใจกันก่อนว่า บางครั้ง คนเราอาจจะมีความดันเลือดพุ่งสูงเป็นครั้งคราว…

Continue Readingความดันสูงกับการทานเค็ม